Monday, June 9, 2014

การเลียกดูบ่อปลาคาร์ฟ


จะเรื่อง บ่อปลาคาร์ฟ เรื่องระบบกรองบ่อปลา หรือการเลือกใช้อุปกรณ์มีเดียต่างๆ มาคุยกันได้เลย 

เรามีเวปบอร์ดเอาไว้สอบถามและสั่งซื้ออุปกรณ์กันได้ตลอดเวลาครับ ขอเชิญนะครับ  


…. ถ้าได้จิบกาแฟไปด้วยดูเวปไปด้วยจะเนียนมากครับ ….

YKH_2
.

การเลี้ยงปลาคาร์ฟให้สนุก ไม่ยากครับ!

 อยากชวนให้มาเลี้ยงปลาคาร์พกันมากๆ จะพบได้ว่าความสุขมากมายนั้นอยู่ในบ้านเรานี่เอง
หัวใจของการเลี้ยงปลาที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับที่หนึ่ง คือน้ำครับ ถ้าทำให้น้ำสะอาด และใสกริ๊บๆ เหมือนที่เห็นตามฟาร์มปลาที่มืออาชีพเขาทำกัน รับรองว่าปลาทุกบ้านจะมีความแข็งแรงสีสันสวยงามได้อย่างที่ต้องการครับ ย้ำอีกครั้งว่า
.
ไม่ยากครับ ! แถมยังสนุกอีกด้วย

การทำน้ำให้ใสและต้องสะอาดด้วยนั้น ก็ต้องมุ่งเน้นทำ ระบบกรองฯ และทิศทางการไหลเวียนของน้ำทั้งระบบของบ่อให้ดี และต้องมีความเหมาะสมกับจำนวนปลาที่เลี้ยงด้วย รวมทั้งสิ่งที่สำคัญมากๆ อีกอย่างก็คือการเติมอากาศแบบมีคุณภาพให้เพียงพอของทั้งระบบบ่อเลี้ยงและบ่อกรอง ถ้าได้ครบถ้วนตามนี้แล้วรับรองว่า แจ่ม!!!  แถมอีกนิดนึงเรื่องการให้อาหารปลาก็ควรเบาๆ มือด้วยนะครับ ปลาที่กินน้อยๆ กลับทำให้ปลาแข็งแรง และอายุยืนกว่าปลาที่ได้กินเยอะ ให้ปลาได้โตแบบตามธรรมชาติที่ไม่ต้องเร่งโตมากมาย ปลาจะอยู่กับเราได้นานๆ  จริงๆ นะครับ และน้ำในบ่อก็จะมีคุณภาพดี แตกต่างอย่างชัดเจนกับการให้อาหารปลามากๆ บางทีก็เกินที่ปลาจะกินหมด น้ำก็จะขุ่น น้ำเสีย แย่เลยนะ


มาจัดการระบบน้ำให้ใส จนมองเห็นปลาได้ชัดๆ กันดีกว่า

น้ำจะดีไม่ดี ใสไม่ใส ระบบกรองเป็นหัวใจสำคัญมากนะครับ และระบบกรองก็มีหลายแบบ แต่ละแบบก็มีดีทั้งนั้น แต่วัสดุกรองต่างหากที่เราควรจะเลือกให้ดี เลือกให้เหมาะสมกับระบบ เรามาค่อยๆ เลือกดูกัน มาทำความเข้าใจธรรมชาติของการบำบัดน้ำแบบไม่เครียดดีกว่า
ยืนยันว่าวัสดุกรองของ yourKoisHouse นั้น ใช้ได้ผลจริง ผ่านการรับรองผลงานมาแล้วมากมายหลายบ่อ
ผมแนะนำให้เริ่มจากเลือกวัสดุกรองหยาบให้ดี เพราะกรองด่านแรกนี้เป็นหัวใจห้องที่ 1 ที่จะดูแลทั้งระบบให้ปลอดภัย ไม่ล่มง่ายๆ เพราะถ้าดักตะกอนหยาบได้ไม่ดี กรองช่องอื่นๆ ก็จะอุดตัน คราวนี้งานเข้าแล้วแน่ๆ ของดีๆ ใช้งานง่ายๆ มีอยู่ในเวปนี้ครบถ้วนครับ
มาตามดูกันไปเรื่อยๆ นะครับ การทำบ่อปลามีเรื่องน่าสนใจมากมายครับ รับรองว่าถ้าได้ลงมือแล้วจะหลงรักการเลี้ยงปลาอย่างถอนตัวไม่ขึ้นกันเลยทีเดียว ผมขอชวนทุกๆ คนมามีบ่อปลาสวยๆ กันนะครับ บ่อปลาคาร์พสวยๆ ปลาคาร์พสวยๆ ทำให้บ้านดูดีขึ้นทันทีเลย

………………………………………………………………………………
มาลองออกแบบบ่อปลาคาร์พกันไหม
………………………………………………………………………………
เห็นบ่อปลาคาร์พสวยๆ น้ำใสกริ๊บ มองเห็นปลาว่ายน้ำอย่างชัด ดูแล้วเพลินมากนะครับ อยากได้ๆๆๆๆๆ ดูตัวอย่างใน google แล้วใจร้อนอยากทำซะวันนี้เลยใช่ไหม  ว่าแล้วก็ลองหาคนรับทำบ่อในเน็ทดู ก็เห็นว่ามีคนรับจ้างทำบ่อเต็มไปหมด ส่วนใหญ่มีประสพการณ์มากว่าสิบปี และมักจะบอกเราว่าผ่านมือมาแล้วมากกว่า 50 บ่อ 100 บ่อ โฆษณาตัวเองดูน่าเชื่อถือดีนะครับ ถ้างั้นก็โทรเรียกมาเลยซิครับไม่เห็นจะยากเลย ซึ่งส่วนตัวผมว่าช่างส่วนใหญ่ก็เก่งๆ กันนะครับ อธิบายให้เราเห็นภาพได้เลย แค่นี้เองเราก็เริ่มต้นที่จะมีบ่อปลาบ่อแรกที่บ้านเราได้แล้ว เริ่มเลยๆๆ
   อ้าว! แล้วจะเลือกใครดีละ คราวนี้ยากขึ้นมาอีกนิดนึง เพราะว่าบ่อปลาที่ทุกคนอยากได้ ล้วนไม่อยากให้เกิดปัญหาเหมือนหลายๆ บ่อต้องเจอมาเช่น บ่อรั่ว แตก ระบบกรองแปลกๆ ไม่เห็นเหมือนตามเวปอื่นๆ ที่เขาคุยกัน น้ำก็เขียวขุ่น ตะกอนลอยเต็ม อะไรเงี้ย ใช่ไหมครับ แล้วเรื่องวัสดุกรองที่พี่ท่านเลือกมาให้เรา บอกเราว่าทำให้น้ำใสดีจริงจริ๊ง ซึ่งมันก็จริงอย่างพี่เขาว่านั่นแหละ แต่ไม่ได้บอกเราว่าจะต้องจ้างคนมาล้างนะ ล้างเองไม่ไหวหรอก … เสร็จเลยทีนี้ คราวนี้ค่าจ้างคนมาล้างครั้งละ 1,500-2,000 ทุกๆ เดือน แถมก็ไม่ค่อยมีใครอยากมารับจ้างล้างกันแล้วนะเดี๋ยวนี้ ค่าแรงลูกน้อง ค่าน้ำมันรถ แพงไปหมด งั้นเรามาช่วยกันหาทางออกแบบบ่อให้เราดูแลระบบกรองเองได้ดีกว่ามั้ย ตามประสาคนบ้าปลาคาร์พเข้าเส้นกันเหอะ วางระบบทั้งบ่อให้ถูกต้องแบบที่ไม่ต้องแก้ไขกันอีก และให้จินตนาการไปล่วงหน้าได้เลยว่าถ้าบ่อเสร็จแล้วเราจะดูแลระบบนี้ด้วยตัวเองไหวหรือปล่าว ทั้งการล้างมีเดีย การล้นน้ำทิ้งโดยไม่ต้องลากสายยางเข้าๆ ออกๆ มีรางระบายน้ำทิ้ง และสามารถดูดน้ำที่ใช้ล้างวัสดุกรองไปรถต้นไม้ได้สะดวกๆ ไม่เละไปทั้งบ้าน … เมื่อได้แบบที่ถูกต้องแล้วคราวนี้เรียกผู้รับเหมามาตีราคาได้เลยครับ เพราะหลังจากผู้รับเหมาทำบ่อให้เราเสร็จแล้ว เราก็คือคนที่ต้องดูแลบ่อด้วยตัวเองต่อไปนะครับ

มาเริ่มที่เรื่องรูปแบบของบ่อก่อนก็แล้วกัน
บ่อปลาสวยๆ ต้องอยู่ที่รสนิยมของเจ้าของบ้านว่ามองแบบไหนสวย บางคนชอบแนวฟรีฟอร์ม  มีน้ำตก บ่อโค้งๆ บ่อสี่เหลี่ยมผืนผ้า อะไรอย่างนี้ ผมขอยกเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องรสนิยมส่วนตัวแล้วกันนะครับ ศิลปะอยู่ที่ความพอใจของคนแต่ละคนครับ อ้อ! ฮวงจุ้ยก็เข้ามามีบทบาทในขั้นตอนเลือกสไตล์บ่ออยู่เหมือนกัน  แต่ไม่ว่าหน้าตาบ่อจะออกมาแบบไหน ตำแหน่งควรจะอยู่ตรงไหนของบ้านจะได้ดูลงตัวไม่ขัดกับสภาพแวดล้อมและการใช้สอยส่วนอื่นๆ ของบ้าน เมื่อได้คำตอบที่ถูกใจแล้วทุกๆ บ่อจำต้องออกแบบให้ระบบการไหลเวียนของน้ำทั้งระบบ ขนาดของบ่อ ด้านความกว้าง ความยาว ความลึก ต้องเหมาะสม รูปแบบการวางบ่อกรองการวางระบบท่อต่างๆ ต้องเข้าตำรานะครับ มีการคำนวนเรื่องที่ว่านี้ได้ไม่ยากมากครับ ส่วนใหญ่มือเก่าๆ เก๋าๆ ก็หลับตาบอกได้เลยว่าต้องมีท่ออะไรบ้าง ท่อสะดือ ท่ออากาศ ท่อน้ำล้น เดี๋ยวนี้มีเพิ่มที่ท่อน้ำเชื่อมต่อแต่ละช่องกรองแทนช่องน้ำมุดแบบเก่า ทั้งหมดนี้จะวางตรงไหนไปไหน ฟังครั้งแรกงงป็นบ้า แทบอยากเลิกมีบ่อกันเลย ทำไมมันซับซ้อนขนาดนี้เนี่ย …. แต่ทั้งหมดที่งงๆ นี่แหละเป็นเสน่ห์ของการเลี้ยงปลาที่สุดเลย
ผมจะพาคุยไปเรื่อยๆ แบบที่รู้อะไรมาก็เอามาแบ่งกันแล้วกันนะครับ  
มาเริ่มจากเรื่องขนาดของบ่อก่อนก็แล้วกันนะ ..
…..
    เคยเห็นปลาคาร์พตัวโตๆ มามากไช่ไหมครับ ขนาดปาเข้าไป 80-90 cm. ถ้าเทพๆ แบบนานๆ เจอซักทีก็ยาวเมตรนึง ถ้ามีแบบนี้ที่บ้านละก็ จะเรียกเพื่อนมาอวดปลาเราทุกวันเลย  งั้นเราก็จินตนาการไว้ก่อนเลยว่าปลาเราต้องโตขนาดนั้นไว้ก่อนดีมั้ย  … ถึงแม้ว่าความจริงกว่าจะถึง 70 เซนนี่ก็ลำบากแล้ว
นั่นก็แปลว่าสัดส่วนมีด้านกว้างให้มากกว่าความยาวปลาประมาณสองเท่าก็จะดีนะครับ (กรณีที่เราคาดว่าปลาของเราจะยาวขึ้นจากปัจจุบัน เป็น 100 cm. ในอนาคต เป็นขนาดในฝันทีเดียวครับ ^ ^) ความกว้างของบ่อ ก็คือเท่ากับประมาณ 2 เมตรขึ้นไป เพราะปลาจะได้ว่ายน้ำสบายๆ หน่อย เวลาว่ายเลี้ยวกลับตัวจะได้ไม่ต้องเดินหน้า ถอยหลังสองสามจ๊ิกเหมือนกลับรถในซอยแคบๆ ^^   ส่วนความยาวบ่อก็ให้ยาวเต็มที่เลยยิ่งยาวก็ยิ่งดี
เพราะถ้าปลามีระยะว่ายน้ำตรงๆ ยาวๆ จะมีส่วนทำให้รูปร่างปลาสมส่วนมากกว่าบ่อช่วงสั้นๆ ครับ และดูสง่างามมาก การว่ายน้ำของปลาที่ดีๆ จะทำให้กล้ามเนื้อทุกส่วนได้ทำงาน ตั้งแต่หัวจนถึงหางกันเลยทีเดียว
ถ้ายิ่งปลาที่มีโคนหางที่หนาๆ ด้วยแล้ว จะเป็นปลาที่หุ่นดีบาดใจคนเลี้ยงแน่นอน เพราะปลาคาร์ฟจะดูดีก็ต้องหุ่นหนาๆ ทั้งตัวครับ
มาดูที่ความลึกกันมั่ง ปลาตัวโตๆ ก็จะต้องมีระยะการว่ายน้ำแนวดิ่งที่พอด้วยนะครับ ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นกันที่เมตรครึ่ง ไปจนถึงสองเมตรก็มี
ยิ่งบ่อลึกปลาก็จะอยู่สบาย ไม่เป็นปลาที่ตื่นคนแถมน้ำที่ลึกก็จะเย็นกว่าด้วย ปลาชอบน้ำเย็นๆนะครับ แต่ถ้าน้ำลึกเกินสองเมตรขึ้นไปจะมองไม่ค่อยเห็นความสวยของมันแบบชัดๆนะครับบอกไว้ก่อน ยกเว้นจะทำเป็นฟาร์มหรือเลี้ยงเพื่อขุนปลาเพื่อเป็นธุรกิจซื้อขายปลาในอนาคต อันนี้ควรทำให้ลึกไว้เลยได้สองเมตรก็ชัวร์ดี แต่โดยส่วนใหญ่นิยมกันที่ 1.8 เมตร เป็นความลึกยอดนิยมครับ
ผ่านเรื่องขนาดบ่อแล้ว คราวนี้ก็เข้าสู่ระบบต่างๆ ในบ่อปลาว่าต้องใส่อะไรเข้าไปบ้าง เพื่อให้ระบบน้ำมีความสะอาด เพราะบ่อปลาคาร์พจะเป็นบ่อระบบน้ำหมุนเวียนผ่านท่อเพื่อไปที่ช่องกรองต่างๆ แล้วสูบน้ำที่กรองแล้วใสสะอาดแล้วให้กลับเข้ามาในบ่อใหม่หมุนเวียนไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ

ไม่มีตอนไหนที่จะหยุดระบบปั้มน้ำและระบบอากาศนะครับ
บางบ่อมีการตั้งเวลาปั้มน้ำ ปั้มลมให้หยุดทำงานตอนกลางคืนซะงั้น เจอแบบนี้ต้องแก้ด่วนๆ กลางคืนจะเป็นช่วงที่ต้องการอากาศมากที่สุดด้วยซ้ำ
.
*** ย้ำห้ามปิดปั้มทุกชนิด ***
…….
มาเริ่มกันที่บ่อกรองกันเลยว่ามีหน้าที่แบบไหนกัน ทุกคนเป็นห่วงเรื่องนี้เป็นอันดับหนึ่งเลย ผมเห็นด้วยครับ ระบบกรองที่ดีจะทำให้น้ำทั้งระบบสะอาดใส ปลาจะสดชื่นมาก และตำแหน่งบ่อกรองกับบ่อเลี้ยงควรจะอยู่ติดกันครับ ยิ่งก่อสร้างอยู่บนฐานรากเดียวกันได้ยิ่งถูกต้องที่สุด เพราะเวลาดินทรุดทั้งบ่อก็จะทรุดลงพร้อมๆ กัน ไม่เกิดการบ่อแตกร้าว ผู้รับเหมาที่ดีจะต้องคิดเรื่องนี้ให้เรา ระวังอย่าให้พลาดนะครับ
ส่วนของบ่อกรองจะมีหลักใหญ่ๆ เข้าใจง่ายๆ อยู่แค่ 2 ข้อครับ คือ ต้องมีช่องกรองหยาบ หรือเรียกกันว่าช่องกรองกายภาพ กับช่องกรองละเอียด แต่ที่จริงน่าจะเป็นช่องกรองชีวภาพน่าจะถูกต้องกว่านะ …… ในเวปไหนๆ ก็เรียกแบบนี้กันหมดแล้ว เรียกกรองละเอียดอายเค้านะ ^^
……
เริ่มที่ช่องกรองกายภาพก่อนนะครับ
ช่องกรองนี้จะเป็นช่องกรองแรกสุดที่จะทำงานครับ น้ำในบ่อปลาทุกหยดที่มีทั้ง ขี้ปลา เศษอาหาร ใบไม้  จะต้องถูกดูดลงก้นบ่อแล้วไหลลงไปทางสะดือบ่อ ไปเข้าที่ช่องกรองนี้
นึกภาพดูก็จะรู้ว่าช่องนี้รับภาระหนักมากแค่ไหนที่จะกักเก็บตะกอนทั้งหมดนี้ไว้ให้หมด โดยมีเงื่อนไขสำคัญที่พลาดไม่ได้คือ เมื่อกักตะกอนเก็บไว้หมดแล้ว จะต้องไม่เกิดการอุดตันที่วัสดุกรองจนน้ำไหลผ่านต่อไปไม่ได้ จะเกิดปัญหาที่สำคัญมากคือน้ำจะไหลไปไม่ถึงช่องสุดท้ายของระบบกรองที่มีปั้มน้ำแช่อยู่ ทำให้น้ำในช่องนั้นแห้ง ปั้มน้ำจะไหม้ได้ครับ อันตรายมาก

ดังนั้นช่องนี้ขอแนะนำอย่างจริงจังว่าควรใช้ cross flow media  ทุกบ่อที่รื้อวัสดุอื่นทิ้งแล้วเปลี่ยนมาใช้ cross flow media จะไม่เกิดปัญหานี้กันเลย ลองดูรูปหน้าตาของมีเดียชัดๆ ซิครับ
เพราะถ้าดูในเรื่องคุณสมบัติของมันก็จะเห็นว่า มันทำหน้าที่ได้สมบูรณ์แบบมาก เพราะตะกอนขี้ปลาและเศษอื่นๆ ที่ไหลผ่าน cross flow media ก็จะถูกกักเก็บไว้ด้านใต้และจะรวมตัวกันจมลงใต้ช่องกรอง ไม่เคยเกิดการอุดตันเลยเพราะความสามารถทางด้านความโปร่งของช่องน้ำจะเห็นว่ามีมหาศาล น้ำจะไหลผ่านไปได้สบายๆ โล่งๆ แต่ตะกอนชิ้นใหญ่ๆ จะหลุดลอดผ่านมันไปได้น้อยมาก ยิ่งถ้าสามารถซ้อนกันได้  3 ชั้นยิ่งได้ผลมาก
จะเห็นได้ชัดๆ เลยว่าขี้ปลาและเศษตะกอนจำนวนมากมาย
จะหยุดอยู่ใต้ช่องกรองนี้ รอให้เราดูดทิ้งไปนอกระบบอย่างง่ายดาย
ทุกบ่อที่เปลี่ยนมาใช้ cross flow media แล้วจะเห็นว่ามันเก็บตะกอนไว้ได้มากจริงๆ และถูกใจกันที่ล้างง่ายมาก
.
….. ไหลต่อกันมาที่ช่องกรองถัดไปครับ มาเรียกว่าช่องกรองชีวภาพกันเถอะ ถ้าเรียกกรองละเอียดเดี๋ยวจะหลงเข้าใจผิดในหลักของการกรองกันเลยนะนั่น เพราะระบบบ่อปลาคาร์พไม่ได้มีแค่เศษตะกอนที่เรามองเห็นด้วยตาเท่านั้นนะครับ มันยังมีของเสียในรูปแบบของเหลว และก๊าซด้วยนะ และอื่นๆ อีกเยอะแยะ ทั้งเมือก ทั้งฟองโน่นนี่นั่น
เราจะเอาวัสดุกรองที่มีความละเอียดมากมายแค่ไหน
ก็ไม่สามารถกรองเอาของเสียรูปแบบของเหลวหรือก๊าซ
ออกไปได้ใช่ไหมครับ แล้วเราควรทำอย่างไรกันดีล่ะ ??
แถมปริมาณน้ำที่ไหลผ่านก็มากมายซะด้วยซิ … บางคนเอาใยกรองสีขาวคล้ายๆ สำลีแผ่นหนาๆ ที่ใช้ในตู้ปลา เล่นเอามาใช้กรองซะงั้น เห็นแล้วปวดหัวกันไปเลย ก็เพราะว่ามันจะตันภายในเวลาแป๊บเดียว และก็ต้องโยนทิ้งไป แล้วก็วิ่งไปซื้อใหม่อีกไม่รู้จบ มันไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องแน่ๆ เลย
มาเรียกกันใหม่ว่ากรองชีวภาพกันเถอะครับ
.
เพราะรูปแบบการกรองในขั้นตอนนี้คือการสร้างพื้นที่เกาะยึดสำหรับ
สิ่งมีชีวิตจิ๋วๆ ที่เรียกว่าแบคทีเรีย และจุลินทรีย์
.
ซึ่งต้องมีจำนวนมหาศาล เราต้องการให้พวกเขามาเกาะอาศัย
และทำงานให้เราฟรีๆ ในการดักจับกินของเสียต่างๆ ให้น้ำสะอาดขึ้น
.
น้ำจะมีความสมดุล ลดความสกปรกของน้ำลงด้วยวิถีของธรรมชาติแท้ๆ ครับ พวกเขาต้องการพื้นที่มากๆ ในการยึดเกาะ แต่ต้องมีอากาศดีๆ ที่เราต้องเติมลงไปในน้ำเพื่อให้พวกมันใช้ในการเจริญเติบโตจะได้เพิ่มจำนวนขึ้นมารับมือกับปริมาณของเสียในระบบบ่อทั้งหมดให้มีสูสีกัน
.
และที่ต้องเน้นมากๆ อีกก็คือวัสดุกรองที่ใส่ในช่องนี้ที่ต้องมีพื้นที่
ให้เขามาเกาะอาศ้ยมากๆ คิดคำนวนกันเป็นตารางเมตรกันเลยทีเดียว
วัสดุกรองทุกชนิดมีตัวเลขพื้นที่ผิวให้เราได้เปรียบเทียบกันได้อยู่แล้ว
ค้นหาดูข้อมูลได้ไม่ยากครับ
.
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นวัสดุที่มีพื้นที่ผิวมากๆ ต้องสามารถยอมให้น้ำไหลผ่านได้ง่ายๆ ด้วยเช่นกันนะครับ

เพราะสาเหตุเดียวกันเลยกับช่องแรกก็คือป้องกันไม่ให้น้ำไม่เกิดอุดตันที่ช่องนี้จนเกิดปัญหาปั้มน้ำไหม้  พื้นผิวมากๆที่ว่า ไม่ได้นับรวมกับรูพรุนที่อยู่ในซอกลึกของวัสดุนะครับ เพราะส่วนที่อยู่ซอกลึกๆ แบบนั้นจะไม่ค่อยมีแบคทีเรียดีๆ ไปซุกอยู่ครับ ก็เพราะมันไม่ได้สัมผัสการไหลผ่านของน้ำโดนตัวของมันเลยนี่ครับ เลยไม่มีอาหารและอากาศดีๆ เข้าไปในนั้นได้เลย นั่นก็ทำให้วัสดุประเภทที่เป็นก้อนๆ ที่มีรูพรุนอยู่ด้านในก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไรกับการบำบัดน้ำเสียแบบชีวภาพมากเท่าที่เราคาดหวังเอาไว้ และส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักมาก ในเวปต่างๆ มักจะเห็นการยกให้กันฟรีๆ เลยทีเดียว
.

แล้วมันขัดแย้งกับความจริงที่ว่ายิ่งวัสดุกรองที่มีความละเอียดมากๆ
แต่ต้องไม่อุดตันง่ายๆด้วยมันจะมีเหรอ แถมเรื่องล้างทำความสะอาดด้วย
อย่าให้ยากขนาดที่เราล้างเองไม่ไหวด้วยนะ
ที่มีให้เลือกทั่วๆ ไปมักจะมีปัญหาเรื่องการล้างทำความสะอาดที่เหนื่อยมากเกินไป แถมยังตันเร็วเกินไปทั้งนั้น หลายบ่อก็เลยเลื่อนวันล้างกรองออกไปตลอดเพราะจัดหาเวลาล้างมากๆ นานๆ และเป็นวันที่เหนื่อยมาก สมัยนี้หายากจริงๆ นะวันแบบนั้น ส่วนใหญ่ก็วันหยุดเทศกาลโน่นเลย ปลามันรอเราไม่ได้นะ และยิ่งรักปลามากก็ให้อาหารมากอีก ขี้ปลากระจุกตัวเต็มวัสดุกรองเพียบๆ รอวันที่จะตัน พลาดนิดเดียวถึงเกิดน้ำเสียได้เลยนะนั่น ระวัง ระวัง ย้ำ ระวัง
ใช่ครับ วัสดุกรองในท้องตลาดนานมาแล้วเราก็เห็นมาไม่กี่อย่าง แต่ละอย่างก็น้ำหนักมากทั้งนั้น บางอย่างก็มีความคมบาดมือบาดแขนกันมาแล้วก็เยอะ
แต่ในที่สุดก็มีมีเดียชนิดใหม่ที่สามารถแก้ปัญหานี้ได้หมด ถูกผลิตออกมาจริงๆ ก็คือ
วัสดุกรองรูปแบบเม็ดพลาสติกโปร่งเบาขนาดเล็กที่เคลื่อนที่ได้อิสระในน้ำ มีช่องด้านในโล่งๆ
.
เราเรียกกันในวงการเลี้ยงปลาทั่วโลกว่า moving bed 
ซึ่งทาง www.yourkoishouse.com ก็ได้ออกแบบและทำการผลิตออกมา
เป็นสินค้าของเราเองแล้วเช่นกันในชื่อว่ารุ่น “Black B media” ครับ
เราตั้งใจที่จะผลิตออกมาเพื่อเพิ่มความสามารถในการกำจัดของเสีย
ในระบบน้ำในรูปแบบใหม่โดยเฉพาะ
ยืนยันได้ว่าค่าของเสียในน้ำจะลดลงได้มากอย่างเห็นได้ชัดเจน
B1 B2 B3 licene

Black B media ทั้งสามรุ่น เป็นสินค้าคุณภาพมาตรฐาน
ออกแบบ และผลิตโดย www.yourkoishouse.com
“ได้รับสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์”
1274949928DIP

เห็นหน้าตากันชัดๆ กันแล้วนะครับว่ามันมีขนาดที่เล็กจริงๆ แต่ภายในกลับมีความโปร่งอย่างดีเยี่ยม เมื่อมันอยู่กันอย่างเบียดเสียดในช่องกรองแล้วจะเหลือช่องให้เศษตะกอนเล็กๆ ผ่านไปได้ยากมาก แต่แน่นอนน้ำกลับผ่านได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ตันง่ายๆ แน่นอน
โจทย์ข้อแรกของการเลือกคือ วัสดุกรองนี้ต้องการพื้นที่ผิวมากๆ ในการให้แบคทีเรียมาเกาะอาศัย ซึ่ง moving bed รุ่น Black B media ก็จัดให้เต็มๆ ที่ 830 – 930 ตารางเมตรต่อลูกบาศ์กเมตร ในรุ่น B1 – B2 – B3 ซึ่งมากกว่าวัสดุเดิมๆ ที่เราเห็นกันมานานกว่าสิบปีอยู่หลายเท่าตัว ต้อนรับประชาการแบคทีเรียได้มากมายที่สามารถมาเกาะติดผิววัสดุได้ง่ายมากซึ่งทำให้ระบบกรองเดินได้อย่างรวดเร็วทันใจ ไม่ต้องรอนานๆ เหมือนเดิม
รูปร่างหน้าตาเจ้าหน้าที่รักษาความสะอาดประจำบ่อกรองขนาดเล็กจิ๋วที่ขยันขันแข็ง

โจทย์ข้อต่อไปคือต้องยอมให้น้ำไหลผ่านได้สะดวกมากๆ ด้วยนะ คำตอบของ Black B media ข้อนี้ก็เสียงดังเลยทีเดียวว่า มีให้เพียบ!  เพราะตัวชิ้นวัสดุจะมีช่องโปร่งอยู่ข้างในขนาดใหญ่ ที่เป็นทางให้น้ำไหลผ่านได้สบายๆ ไม่ตันง่ายๆ
แต่ที่เป็นแนวทางใหม่สุดสำหรับวงการบ่อกรองปลาคาร์ฟ
และปลาตู้ด้วยในยุคนี้คือ การทำให้วัสดุกรองหมุนปลิวไปมา
อยู่ในช่องกรองนี้อย่างอิสระด้วยแรงลมจากฟองอากาศ
เพื่อหวังผลเรื่องการลดค่าของเสียอย่างรวดเร็ว ซึ่งตรงกันข้ามกับระบบกรองเดิมๆ ที่ผ่านมาใช่ไหมครับ เพราะการที่ทำให้วัสดุกรองมีการเคลื่อนที่ไปทั่วช่องกรองที่มีของเสียปนอยู่เต็มๆ นั้น
ทำให้แบคทีเรียที่เกาะอาศัยอยู่บนตัว moving bed ได้กระจายตัวไปทั่วช่องกรองอย่างทั่วถึง
เรียกว่าปูพรมกันเลยก็แล้วกัน ออกตามล่าหาอาหารได้ทั่วจริงๆ
แล้วของเสียทั้งหมดจะถูกย่อยสลายได้มากกว่าวิธีการเดิมอยู่มากมาย
อาจมากถึงสามเท่าของระบบปรกติ โดยที่ใช้ช่องกรองขนาดเท่าเดิม
ข้อมูลนี้ต่างประเทศต้นความคิดระบบนี้คิดคำนวนเอาไว้ว่าอย่างงั้น บ่อปลาคาร์ฟรุ่นใหม่ระดับเทพๆ ก็ใช้ระบบนี้กันทั้งนั้น จะเป็นบ่อ 10 ตัน หรือจะ 300 ตันก็ได้ผลทั้งนั้นครับ คุณภาพน้ำจะดีขึ้นมากมายเห็นได้อย่างชัดเจน
ดูลักษณะการหมุนตัวของ Black B media ที่เวลาเอาไปใช้พยายามทำให้ได้แบบนี้นะครับ
ตัวอย่างการใช้ถัง 200 ลิตร เอาเชื่อมต่อกันเป็นชุด เพื่อใช้เป็นกรองนอกสำหรับปั่น moving bed ครับ
ตัวอย่างถังกรองนอกชุดนี้ เป็นของนักเลี้ยงย่านราชพฤกษ์ที่หลงรักปลาคาร์พเข้าอย่างจัง ที่ทุกคนทำเองได้ง่ายๆ 
ระบบกรองแบบนี้สามารถทำต่อไปอีกช่องก็จะดีมากขึ้นอีกครับ ทำให้พื้นที่ช่องกรองสามารถลดขนาดลงมากกว่าสูตรคำนวนแบบที่ใช้ 30% สำหรับวัสดุกรองเดิมๆ ครับ  แต่ถ้ามั่นใจกับสัดส่วน 30% ของบ่อเลี้ยงก็ไม่เสียหาย  ยิ่งจะทำให้ได้น้ำสะอาดดียิ่งขึ้นไปอีก มีมากดีกว่าขาดครับ สิ่งที่ได้จะคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม
ช่องกรองระบบ Moving bed จะต้องให้ความสำคัญกับปริมาณลมในการให้วัสดุกรองเคลื่อนที่ได้เร็วพอ แต่ไม่ต้องถึงกับแรงสุดๆ เหมือนน้ำเดือดแรงๆนะครับ แบคทีเรียที่อาศัยเกาะอยู่จะได้มีโอกาสดักจับอาหารได้สะดวกๆ ไม่จับหลุดจับติด ซึ่งถ้าพวกมันได้รับอ๊อกซิเจนตลอดเวลาและได้มากพอแบบนี้พร้อมกับได้รับการหมุนในช่องกรองอย่างทั่วทุกซอกมุมจริงๆ รับรองได้ว่าภายในระยะเวลาไม่นาน น้ำในบ่อจะใสสวย ไม่ขุ่นเขียวกันเลยจริงๆ ปัญหาน้ำเขียวๆ ก็จะกลายเป็นเรื่องอดีตที่ไม่หวนกลับมาในบ่ออีกเลย แต่ก็ต้องย้ำอีกเรื่อยๆ ว่าต้องขยันล้างช่องกรองทุกๆ ช่องอย่างสม่ำเสมอนะครับ อย่าปล่อยทิ้งไว้นานเกินไปนะครับ อย่างน้อยๆ ล้างกันเดือนละครั้ง ยกเว้นช่องกรองกายภาพช่องที่ 1 ต้องล้างอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้งนะครับ บางคนผมเห็นล้างทุกวันเลย ขยันมากแต่ได้น้ำที่ใส สวยน่าอิจฉาจริง ไรจริง
เมื่อผ่านระบบกรองทั้งสองระบบแล้ว เรามาจบท้ายอีกครั้งด้วยขั้นตอนที่สาม ด้วยการปล่อยให้น้ำได้ไหลผ่านช่องกรองสุดท้ายนี้ด้วยความนิ่มนวล เพื่อให้ตะกอนขนาดเล็กมากๆ ได้มีโอกาสได้ตกตะกอนลงที่นี่ไม่ไหลวนกลับไปที่บ่อเลี้ยงอีก ดังนั้นช่องนี้ถ้าใช้ วัสดุ Black B media ปล่อยให้ลอยน้ำนิ่งๆ ให้เต็มช่อง น้ำใสๆ ก็จะไหลเข้าสู่ช่องสุดท้าย คือช่องปั้มน้ำได้แบบสวยงาม ….. เห็นภาพกันแล้วใช่ไหมครับ ทำได้ง่ายจริงๆ


ออกใหม่ล่าสุดครับ Black B3 media
สุดหล่อแห่งยุค moving bed
เราออกแบบมาให้ได้พื้นที่ผิวมากถึง 900 ตรม. ต่อ ลูกบาศ์กเมตร 
ทีเด็ดจริงๆ เหมาะอย่างยิ่งที่จะเอาไปปั่นในช่อง หรือในถังกรองนอก
รับรองการหมุนที่สวยงามนุ่มนวล กินลมน้อยมาก ทำให้แบคทีเรียทำงานได้ดี
ทำให้ประหยัดพลังงานลมอย่างเหลือเชื่อครับ ไม่ว่าบ่อเล็กบ่อใหญ่ก็สั่งไปใช้ได้ทั้งนั้นครับ
ตัวอย่างบ่อของพี่นักเลี้ยงย่านรามอินทรา ที่ปรับมาใช้ระบบ MOVING BED ด้วย Black B media แบบเต็มๆ
ดูกันอีกคลิปนึง เห็นไหมครับว่าทำง่ายจริงๆ ทำได้ทุกบ่อนะครับ สภาพน้ำจะใส โปร่ง ดูแลง่ายมาก
มาลงกันที่ช่องสุดท้ายที่เป็นช่องปั้มน้ำกันเลยดีกว่า … ส่วนใหญ่แล้วบ่อรุ่นเก่าๆ จะใช้ปั้มไดโว่กำลัง watt สูงๆ เช่น 500w -700w แล้วเอามาต่อหัวเจ็ท เพื่อเป่าฟองอากาศไปพร้อมกับน้ำ วางรอบๆ บ่อให้น้ำหมุนๆๆๆๆๆ ปลาเวียนหัวกันไปเลย การมีหัวเจ็ทยื่นเข้าไปในบ่อนั้นผมดูแล้วหวาดเสียวแทนปลาจริงๆ กลัวว่าเวลาว่ายมาใกล้ๆ กะจะมาเล่นฟองอากาศ กลับเอาหัวทิ่มโดนหัวเจ็ท ปากเจ่อ หัวบาก บาดเจ็บกลับไป กลายเป็นปลาที่มีตำหนิขึ้นมาเซ็งเป็ดเลย รู้แล้วก็รีบไปถอดออกเลยดีกว่า ก่อนที่ปลาจะเจ็บตัว
ตอนนี้เรามาถึงยุคของการพัฒนาอุปกรณ์การเลี้ยงที่ทันสมัยขึ้นแล้ว ตัวเลือกก็เยอะขึ้นมากมายดีๆ ทั้งนั้น ปั้มน้ำก็มีการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานอย่างสิ้นเชิงเหมือนกัน กลายเป็นปั้มน้ำที่ทำหน้าที่แค่ดูดน้ำในช่องสุดท้าย แล้วดันน้ำไปเข้าบ่อเลี้ยงเฉยๆ แต่ได้ปริมาณน้ำที่มากมายกว่าเดิม และกินไฟน้อยลงมากๆ จากที่ต้องใช้กำลัง 400 w เพื่อให้ได้น้ำที่ 18,000 ลิตร/ชั่วโมง ก็กลายเป็นใช้แค่ 50 -70w ก็ได้น้ำมากมายถึง 20,000 ลิตรต่อชั่วโมงอะไรยังเงี้ย ลดค่าไฟได้มากมาย ผมแนะนำปั้มน้ำ HA 20 กับ HA25 ครับ ของดีราคาประหยัดน่าใช้มากครับ ทนทานใช้ได้เลย
หน้าตาปั้มน้ำรุ่น ATMAN HA20 กับ HA25 เหมือนกันเป๊ะ
แต่ถ้าจะเล่นกันแบบทนอึด ทนนาน คบกันยาวๆ ก็ต้องนี่เลยครับ ปั้ม HU กับ ปั้ม TCP
HU 35-45 YKH
มีหลายรุ่นหลายราคาให้เลือกมากมายครับ เข้าไปดูรายละเอียดพร้อมราคาได้ที่หมวดปั้มน้ำ ปั้มลมได้เลยครับบอกไว้อย่างละเอียด
koiz007
การเอาน้ำกลับเข้าบ่อจากช่องสุดท้ายที่น้ำใสแล้ว ถ้าสามารถเอามาผ่านน้ำตกได้ก็จะสร้างบรรยากาศที่ดีมากๆ ให้กับบ้านและที่ดีกว่านั้นคือเป็นการลดอุณหภูมิน้ำให้เย็นลงได้อีก ปลาชอบน้ำเย็นๆ ครับ คุณภาพน้ำที่มีการไหลผ่านชั้นน้ำตกจะสร้างสิ่งดีๆ ในกับบ่อมากมายอย่างคาดไม่ถึง น่าทำกันนะครับ น้ำตกทำง่ายมาก ช่างทำบ่อปลาหรือนักจัดสวนเกือบทุกคนล้วนถนัดเรื่องนี้กันอยู่เแล้ว
………..
   น้ำที่ผ่านระบบกรองจนจบกระบวนการทุกช่องกรองแล้ว ก็จะค่อยๆ ลดค่าของเสียในน้ำลงเรื่อยๆ ไม่ได้ลงทีเดียวหมดนะครับ ของมันต้องใช้เวลามั่ง แต่สิ่งที่ต้องสนใจในขั้นตอนสุดท้ายนี้ก็คือรอบของน้ำที่ไหลเวียนทั้งระบบครับตามสูตรของบ้านเราจากคนที่มีประสพการณ์และรวมถึงตำราต่างประเทศก็จะแนะนำให้จัดการรอบน้ำให้ได้ประมาณ 15-18 รอบต่อวัน เข้าใจไหมครับว่าทำยังไงกับรอบน้ำนี้ อยากจะบอกว่าง่ายครับ แค่เอาปริมาณน้ำที่มีในบ่อทั้งหมดรวมถึงน้ำในช่องกรองด้วยนะ ว่ามีปริมาตรน้ำเท่าไหร่
สมมุติว่าบ่อเราที่รวมช่องกรองแล้วมีขนาด กว้าง 3 เมตร ยาว 5 เมตร ลึก 1 เมตร เอามาคูณกันซะ ก็จะได้ 3x5x1= 15 ตัน หรือ 15,000 ลิตร เราอยากได้น้ำทั้ง 15 ตันหมุนได้ 15 รอบ ก็เอามาคูณกันซิ 15×15 = 225 ตัน หรือ 225,000 ลิตร มหาศาลเลยนะนั่น น้ำขนาดนี้จะต้องหมุนให้ครบภายใน  1 วันหรือ 24 ชั่วโมงนั่นเอง งั้นเราก็ต้องเลือกขนาดปั้มที่มีกำลังวังชาดีๆ หน่อย เวลาเลือกปั้มก็พลิกดูป้ายข้างกล่องว่ามีความสามารถเท่าไหร่ ตัวเลขที่เราต้องดูคือ ลิตร/ชั่วโมง เช่น 5000 L /hr ก็หมายถึง ปั้มนี้มีกำลัง 5000 ลิตรต่อชั่วโมงเป็นต้น คราวนี้เราเอาตัวเลขน้ำในบ่อเราที่มี 225,000 ลิตร เอามาหาร 24 ชั่วโมงเพราะเราจะเอามาหารุ่นปั้มที่เหมาะสมกัน หารแล้วก็จะได้ 9,375 ลิตร/ชั่วโมง
คราวนี้เป้าหมายของปั้มที่เราเลือกก็น่าจะอยู่ที่ 10,000 ลิตร/ชั่วโมง หรือตามกล่องก็จะเขียนไว้ว่า 10,000/hr แค่นี้เองไม่ยากเลย ส่วนใหญ่มักจะเลือกให้สูงขึ้นไปอีกนิด ก็จะกลายเป็น 12,000 L/hr  ถ้ารุ่น ATMAN HA 20 ก็เป็นปั้มที่มีกำลังน้ำ 20,000 L/hr สามารถรองรับบ่อขนาด 25-30 ตันได้ลงตัว แถมกินไฟที่ระบุข้างกล่องก็แค่ 50w เอง จากที่เมื่อก่อนต้องเลือกปั้มไดโว่ที่คนทำบ่อมือโปรทั้งหลายชอบเอามาใช้ใส่หัวเจ็ทตัวแสบ ถ้าจะเอาให้ได้น้ำเท่านี้คงต้องโดนไปที่ 400w แน่ๆ แถมปั้มไดโว่ก็จะพังเร็วมากๆ ด้วย เพราะหัวเจ็ทมาอั้นน้ำเอาไว้ เปลืองไฟ เปลืองปั้ม และเปลืองปลาด้วยนะ

มาดูเรื่องการให้อ๊อกซิเจน กันมั่ง
เพราะการให้อ๊อกซิเจนลงไปในน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้ปลาสดชื่นมาก ผิดหูผิดตา ต่างจากจากบ่อที่น้ำนิ่งๆ เอื่อยๆ ปลามักจะซึมหงอย คงจะเหมือนคนที่อยู่ในที่อากาศแย่ๆ เราก็จะมึนหัว ซึม และง่วง เบื่ออาหาร อุปกรณ์ที่ใช้ให้อ๊อกซิเจนนี้ คือ จานอ๊อกซิเจน หรือจานจ่ายอากาศ ซึ่งการให้อ๊อกซิเจนที่ดีควรสนใจเป็นพิเศษกับลักษณะของฟองอากาศที่ปล่อยออกมาจากอุปกรณ์ เราต้องการฟองที่เล็กมากๆ ให้ลอยขึ้นผิวน้ำอย่างช้าๆ พยามยามเลือกให้ดีนะครับ เพราะในท้องตลาดมีตัวเลือกเยอะจริงๆ ผมก็เลือกไม่ค่อยถูกมานาน
จนมาลงตัวที่วัสดุของเยอรมันมาตรฐานยุโรป
รุ่นที่นำเข้ามาจำหน่ายในเวปนี่เหละครับ เพราะได้อย่างที่ต้องการเลย คือรุ่นนี้ครับ หน้ายางดำ ขอบขาว  
….. ราคาจานละ 900 บาทเท่านั้น

และจากที่เราเข้าใจแล้วว่าบ่อกรองของเรามีแบคทีเรีย และจุลินทรีย์มากมายอาศัยอยู่และต้องการอ๊อกซิเจนที่มากเหมือนกัน ยิ่งกลางคืนทุกอย่างที่อยู่ในบ่อจะแย่งกันบริโภคอ๊อกซิเจนกันหมด ไม่เว้นกระทั่งสาหร่ายตามขอบบ่อก็เอากะเค้าเหมือนกัน งั้นเราก็ใส่อ๊อกซิเจนมากๆ เข้าไปซิครับ ยิ่งให้เยอะยิ่งดีสิ่งที่ได้กลับมาดีๆ ทั้งนั้น ทุกชีวิตในน้ำจะสบายตัวน้ำจะดูใสสะอาดขึ้นไม่ดูเหนียวหนืด ถ้ามีฟองอากาศลอยขึ้นมาก็แตกทันที แบบนี้ผ่านแน่ๆ เราไม่ต้องกลัวเรื่องให้อ๊อกซิเจนมากเกินไปหรอกครับ ไม่มีข้อเสียเลย และปั้มลมเดี๋ยวนี้ก็กินไฟน้อยมาก เริ่มต้นที่ 60w ก็ใช้ได้กับบ่อขนาดกลางๆ ได้แล้ว
ปั้มลมที่แนะนำครับ RESUN ราคาเบาๆ  แต่ได้ลมแรงคุ้มราคา
      ได้ปั้มลมแล้วมาว่าเรื่องอุปกรณ์จ่ายฟองอากาศที่เราต้องเน้นกันหน่อยครับ และแรงลมจากปั้มลมก็ต้องเหมาะสมกับจานจ่ายอากาศด้วยนะ ผมแนะนำย้ำอีกทีว่าให้ใช้ปั้มราคาดีๆ ไม่แพง แต่คุณภาพผ่าน คือปั้มลม RESUN รุ่น LP (แบบรูปข้างบน) ที่โด่งดัง เอามาจับคู่กับ air diffuser หรือ จานอ๊อกซิเจนของเรา (บางคนก็เรียก จานจ่ายอากาศ, หัวจ่ายอากาศ) ที่เป็นเกรดดีที่สุด ขนาด 10 นิ้ว ที่เราเลือกนำเข้ารุ่นนี้เพราะต้องการให้ได้คุณภาพที่ดีที่สุด วัสดุหน้าจานเป็นแผ่นยางพิเศษผลิตและนำเข้าจากเยอรมัน ที่ให้ฟองอากาศได้ละเอียดมากๆ น่าจะมากที่สุดแล้วละ ทำให้การละลายของอ๊อกซิเจนลงไปในน้ำก็จะสมบูรณ์แบบ ไม่ควรเลือกอุปกรณ์ที่ให้ฟองอากาศใหญ่ๆ ลอยขึ้นผิวน้ำอย่างเร็วเกินไปและมีฟองที่รุนแรงเหมือนน้ำเดือดๆ แบบนั้นการละลายอ๊อกซิเจน ได้น้อยมากเปลืองค่าไฟปล่าวๆ
koiz019
แล้วยังมีเพื่อนซี้ของจานอ๊อกที่เกิดมาคู่กันจริงๆ ก็คือ ฐาน UFO 

the UFO licence
เมื่อประกอบเข้ากับจานอ๊อกแล้วจะเป็นแบบนี้เลยครับ 

เอาใจคนมีบ่ออยู่แล้วแต่ไม่มีการวางท่อลมลงใต้บ่อในตอนก่อสร้าง ไม่เป็นไรแล้วครับ ฐาน UFO ใช้งานง่ายๆ แค่ถ่วงด้วยก้อนหินด้านในให้หนัก แล้วเสียบสายลมเข้าหางปลาทองเหลืองก็ใช้งานได้ทันที่ครับ ใช้งานง่ายๆ ใช้วางในช่อง moving bed ก็สะดวกมาก ย้ายตำแหน่งได้ตามที่ต้องการครับ
 ………..
    ตอนนี้ระบบหลักหลักๆ ที่เล่ามา ก็น่าจะเป็นรูปเป็นร่างในแบบแต่ละบ่อกันแล้วนะครับ งั้นเรามาเจาะลงไปลึกอีกนิดก็แล้วกันนะครับ …

.
น้ำในบ่อเลี้ยงทั้งหมดจะถูกเชื่อมต่อกับน้ำในบ่อกรองก็ด้วยสะดือบ่อที่ลากฝังได้ดินด้วยท่อขนาดยักษ์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ควรต่ำกว่า 4 นิ้ว ถ้าใช้ขนาดนี้แล้วระบบบ่อจะดูหล่อมากครับ บางบ่อก็มีใช้ท่อใหญ่กว่านี้อีกนะ 6 นิ้วมั่ง แต่ 8 นิ้วแต่ไม่ค่อยได้เห็นบ่อยๆ  ส่วนผมว่า 4 นิ้วดูเป็นที่นิยมที่สุดและข้อต่อต่างๆ ก็หาได้สะดวกดีด้วย แต่ต้องมีจำนวนสะดือให้เพียงพอกับสัดส่วนของบ่อนะครับ เพราะมันเกี่ยวพันกันไปหมดทั้งปริมาณน้ำ
ความแรงของปั้ม ต้องคำนวนให้แม่นๆ ปรึกษาผู้ชำนาญก่อนเลือกขนาดท่อก็น่าจะปลอดภัยที่สุด  
.
ส่วนตำแหน่งของสะดือก็ควรวางให้กลางบ่อไว้ก่อนและต้องเป็นจุดต่ำสุดของพื้นบ่อ
หมายถึงพื้นบ่อต้องลาดเอียงด้วยเพื่อช่วยให้เศษตะกอนต่างๆ ไหลเทรวมกันเข้าหาสะดือและถูกดูดเข้าช่องกรองง่ายๆ ส่วนบ่อที่มีความยาวมากๆ ก็ควรเพิ่มสะดือบ่อตามไปด้วยนะครับ ห่างกันสะดือละประมาณ 2 เมตรก็จะดี ถ้าวางห่างกว่านี้พลังในการดูดก็ด้อยลงนิดหน่อย …… แต่ไม่ซีเรียสมากนัก
.
และอย่าลืมวางจานอ๊อกซิเจนคุณภาพดีๆ ให้อยู่เหนือสะดือด้วยนะครับ ช่วยได้มากเลยนะนั่น เพราะเป็นการสร้างกระแสน้ำแนวดิ่งตรงจุดนี้โดยเฉพาะ เพื่อดูดตะกอนขี้ปลาต่างๆ ให้ไหลลงสะดือได้ง่ายขึ้นครับ และถ้าบ่อไหนมีน้ำตกด้วยก็วางจานอ๊อกซิเจนอยู่ใต้น้ำตกด้วยซะเลยซิครับ รับรองปลาหายใจได้สดชื่นมากๆๆๆๆ ปลาจะกินเก่ง โตเร็ว ร่าเริงอย่างไม่น่าเชื่อครับ ส่วนใหญ่ปลาที่ได้อ๊อกซิเจนดีๆ แบบนี้จะค่อนข้างเชื่องด้วยนะ แล้วจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ทั้งปลา ทั้งน้ำในบ่อจะใส ดูสะอาดตามาก
……….
ส่วนของอุปกรณ์หลักๆ ก็ว่ากันมาเกือบครบแล้ว คราวนี้มาว่ากันต่อด้วย อุปกรณ์เสริมสวยอีกชิ้นนึงที่ไม่ควรมองข้ามนะครับ เพราะมันทำหน้าที่ตกแต่งผิวหน้าน้ำในบ่อให้ใสสวย เป็นมันเงา ไร้คราบสกปรก ราคาไม่แพงแต่ประโยชน์เกินคาดครับ … ดูหน้าตาชัดๆ เลยครับ

surface skimmer
การใช้ surface skimmer ที่ได้ผลมาก ก็ต้องตรวจดูทิศทางของน้ำในบ่อโดยรวมด้วยนะครับ
จับทิศทางของน้ำให้ดี ทำให้ทิศทางของน้ำไหลมาหาจานให้ได้ ไม่ว่าจะโดยปั้มน้ำพ่นมาเอง
มาจากแรงของน้ำตก หรือแรงกระเพื่อมจากฟองที่ออกมาจากจานอ๊อกซิเจน  อะไรก็ได้ทั้งนั้น
เพราะผิวหน้าน้ำจะลำเลียงกันมาหาจานของเรา และหน้าน้ำที่มันๆ เมือกๆ ฝุ่นๆ อะไรพวกนี้
ก็จะถูกดูดเข้าไปในช่องกรองของเราหมดเกลี้ยงไปเลย
ย้ำแรงๆ ตรงนี้ชัดๆ ว่าเอาผิวหน้าน้ำเข้าไปที่กรองช่องแรกนะครับ
กักไว้ที่นี่และคอยหมั่นไปตักฟองออกด้วยนะครับ เพราะมันจะมาเยอะมาก
เก็บแช่ไว้ในนี้นานๆ ไม่ดีครับ มันสกปรก ตักออกด่วนๆ ทำทุกวันได้ก็ยิ่งดีครับ
แต่ถ้าให้ดีที่สุดก็ต้องระบายฟองที่มีให้ล้นออกนอกระบบบ่อของเราไปเลยครับ
ก็เอาออกทางท่อล้นน้ำทิ้งที่ต้องมีไว้รักษาระบบความสูงน้ำในบ่อนั่นแหละครับ
ด้วยการเติมน้ำใหม่เพิ่มเข้าไปนั่นเองครับ

……..
มาถึงตอนนี้บ่อปลาเราน่าจะครบสมบูรณ์แบบกันแล้วนะครับ จะขาดเหลืออะไรก็ค่อยๆ เติมกันได้ ตอนนี้ผมขอแนะนำกิจวัตรประจำวันการดูแลบ่อเรามั่งดีกว่า ก็เราตั้งใจทำบ่ออย่างเต็มที่จนเสร็จสมบูรณ์แล้วจะไม่รู้วิธีดูแลได้อย่างไรใช่ไหมครับ เดี๋ยวก็กลายเป็นบ่อโทรมๆ ก่อนวัยอันควร
ในทุกๆ วันช่องกรองแรกที่รับน้ำจากสะดือบ่อที่เข้มข้นไปด้วยตะกอนทุกขนาด เศษใบไม้ นู่นนี่ เยอะแยะ และ cross flow ของเราก็เก็บไว้ได้มากมายนั้น อย่าลืมว่าทุกอย่างก็ยังอยู่ในระบบน้ำในบ่อเราอยู่ดี ยังไม่ได้ถูกกำจัดออกไปซะที่ไหน  งั้นหน้าที่ของเราก็คือแวะเวียนมา ระบายตะกอนในช่องแรกนี้ออกไปจากระบบให้ได้บ่อยๆ ใครที่ว่างมากหน่อยก็ทำทุกวันตอนเช้านะครับ ถ้าว่างน้อยลงหน่อยก็อาทิตย์ละครั้ง ถ้าไม่ค่อยว่างก็ ต้องทำให้ว่างบ้างนะครับ ถ้าปลาป่วยก็จะไม่เป็นอันทำงานนะครับ
มาดูช่องชีวภาพมั่งดีกว่า ช่องนี้เป็นกองกลางที่คอยดูแลระบบส่วนใหญ่ของบ่อเราเลย ใครชอบดูบอลก็คงเข้าใจดีนะครับ ว่าทีมไหนได้กองกลางดีๆ รับรอง กองหน้าทำประตูได้สบาย แต่กองกลางของระบบบ่อกรองเรามีหน้าที่ที่ละเอียดอ่อนมากนะครับ เขาเหล่านั้นต้องการน้ำที่ไหลผ่านตลอดเวลา ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่เพียงพอ และอากาศด้วยเช่นกัน เราจึงต้องจัดวางวัสดุกรองของเราให้โปร่งพอสมควรเพื่อให้ของเสียได้ไหลผ่านวัสดุกรองได้ทั่วๆซึ่งก็คืออาหารของเขานั่นเอง และต้องมีการเติมอากาศให้สม่ำเสมอและต่อเนื่องตลอดเวลา
แบคทีเรียที่เกาะอาศัยที่วัสดุกรองของเรา ต้องการความสะอาดเหมือนกันนะครับ เราต้องระมัดระว้งพวกเขามากๆ เพราะการปล่อยเขาทิ้งไว้นานไปจนตะกอนอุดตันเต็มผิววัสดุกรองก็ทำให้แบคทีเรียจับอาหารกินไม่ได้ก็จะตายไป เกิดอาการระบบล่มเป็นน้ำเขียวกันเลยทันที แต่ครั้นจะล้างบ่อยๆ เอาให้สะอาดเอี่ยมก็ไม่ได้นะครับ แบคทีเรียหลุดหายไปหรือโดนคลอรีนแรงๆ เข้าไปก็เจ๊งได้เหมือนกัน
เรื่องนี้เจ้าของบ่อต้องมีศิลปะในการจัดการหาช่วงเวลาที่เหมาะสมกับบ่อเราเองนะครับ
เพราะแต่ละบ่อก็มีปลาไม่เท่ากัน สัดส่วนวัสดุกรองต่อบ่อก็ไม่เท่ากัน แถมมือหนักในการให้อาหารปลาก็ไม่เท่ากันอีก ค่อยๆ หากันให้เจอนะครับ ลองดูจาก 1 อาทิตย์ต่อครั้ง เป็น 2 หรือ 3 อาทิตย์ต่อครั้ง จนลงตัวว่าทำแล้วระบบไม่ล่มเป็นใช้ได้ละครับ เอาใจช่วยนะครับ ^^
ช่องที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายคือช่องที่ให้น้ำไหลแบบนิ่งๆ เพื่อให้มีการตกตะกอน ก็มีความคล้ายกับการดูแลช่องชีวภาพนะครับ โน่นนิด นี่หน่อยก็มีผลกับระบบบ่อเหมือนกัน  ไม่ว่าล้างบ่อย หรือ นานๆ ล้างทีก็ต้องสังเกตุสภาพน้ำให้ดีนะครับ ถ้าผิวหน้าน้ำที่มีฟองเหนียวๆ ลอยมากเกินไป ก็แสดงว่าระบบเดินทางมาจนเกือบล่มแล้ว ต้องรีบจัดการโดยด่วนครับ
สิ่งที่ต้องทำเป็นประจำก็คือการเติมจุลินทรีย์ super bac ลงไปในระบบนะครับ มันทำให้กากตะกอนที่มีจำนวนมากนั้น คลายพิษสงลงไปได้เยอะเลย ค่าของเสียที่มีแบบเต็มๆ ก็ลดลงได้มากมาย ทำให้กรองกายภาพช่องแรกก็งานเบาลงไปเหมือนกัน เติมอาทิตย์ละครั้งอย่าให้ขาดนะครับ บ่อขนาดประมาณ 5-10 ตัน ก็เติม super bac ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะก็พอ
.
นักเลี้ยงประเทศเพื่อนบ้านเรา ก็นิยมปลาคาร์พอยู่ไม่น้อยครับ
บ้านคุณเพชรที่เวียงจันทร์สวยมากครับ

2013-03-24 14.49.54เพชร
2013-03-24 14.46.10 เพชร
2013-03-24 14.45.02เพชร
2013-03-24 14.46.53เพชร
2013-03-24 14.43.53เพชร
บ่อสวยๆ แต่่ปัญหาน้ำเขียวก็มาเยือนจนได้ 
2013-05-02 15.13.31
2013-05-02 15.13.45
2013-05-02 15.14.02
2013-05-02 15.14.13
2013-05-02 15.14.44
2013-05-02 15.15.18
คุณเพชรเจ้าของบ้านติดต่อเข้ามาทางเวป
เพื่อขอคำแนะนำในการปรับระบบน้ำเพื่อให้น้ำใส
ทางออกที่สะดวกมากสำหรับบ่อนี้ก็เลยจัดชุดกรองระดับมืออาชีพ
คุณภาพระดับโลกไปให้
2013-06-20 17.47.27
ชุดกรอง OASE  รุ่น BIOTEC 36 Screen matic  
กับปั้มลม แท่งอ๊อกซิเจนเกรด A
เมื่อของพร้อมคนพร้อมก็ออกเดินทางไปติดตั้งกันเลย
2013-03-24 14.47.04-2เพชร
2013-03-24 14.47.33
2013-03-24 14.48.18เพชร
ภายในเวลาครึ่งวันงานติดตั้งก็เสร็จเรียบร้อย
ผ่านไปเพียง 3 ชั่วโมง สภาพน้ำก็เปลี่ยนจากเขียวเข้ม
กลายมาเป็นใสขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
2013-06-24 23.28.06
2013-06-24 23.28.10
2013-06-24 23.28.12
2013-06-24 23.29.09
ผ่านไปอีก 3 วันกลับมาดูความใสของน้ำกันอีกที
2013-06-27 11.23.11
น้ำใสเห็นก้นบ่อได้ชัดเจน ^^
2013-06-27 11.23.20
ปลาสดชื่นมาก ว่ายมาเล่นที่ฟองอ๊อกซิเจนกันสนุกสนาน
ถูกใจจริงๆ
ขอบคุณคุณเพชรมากครับที่ไว้วางใจให้ดูแลครับ ^^

ออกแบบระบบบ่อปลาคาร์พโฉมใหม่

.2013-01-23 13.53.41
อยากทำบ่อปลาคาร์พดีๆ จะจ้างใครออกแบบระบบดีนะ !!

การทำบ่อปลาคาร์พอย่างสบายใจนั้นควรจะต้องมีการออกแบบก่อนตกลงสั่งจ้างผู้รับเหมานะครับ
เพราะเมื่อเราจะให้ใครมาสร้างบ่อให้เราก็จะหมดปัญหาทุกๆ ด้าน
ไม่ว่าจะเรื่องขนาดบ่อ กว้าง ยาว ลึก ขนาดช่องกรองที่ได้สัดส่วนที่ถูกต้อง และที่สำคัญที่สุดก็คือ
ระบบกรองจะต้องผ่านการคิดคำนวนมาอย่างถูกวิธี เลือกใช้วัสดุกรองที่มีความทันสมัย
ระบบบ่อปลาคาร์พได้เดินทางมาหลายยุคแล้วครับ ตั้งแต่การดัดแปลงใช้อุปกรณ์ปั้มน้ำกลุ่มไดโว่ที่กินไฟอย่างมากๆ
และวัสดุกรองที่เอาของที่หาได้ในร้านจัดสวนทั่วๆ ไป พบเจอปัญหาเรื่องน้ำเรื่องอ๊อกซิเจนก็ปรับปรุงกันเรื่อยมา 
จนมาถึงยุคที่เราเลือกใช้ความเข้าใจในระบบบำบัดน้ำแบบชีวภาพที่มีคุณภาพสูงสุดเท่าที่เคยทำกันมา ความรู้เรื่องนี้
ได้เป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มนักเลี้ยงปลามืออาชีพเพราะให้คุณภาพน้ำที่ดีมากจริงๆ ไม่ใช่เรื่องความใสอย่างเดียว 
.
ทำแล้วจะหลงรักระบบกรองที่มีคุณภาพยอดเยี่ยมแบบนี้จริงๆ 
.
วัสดุกรอง Black B3 media และ Cross flow media
เพื่อให้ได้คุณภาพน้ำที่ดีที่สุด ดูแลทำความสะอาดได้ง่ายที่สุดด้วยเช่นกัน
.
รูปแบบบ่อที่มีการออกแบบโดยละเอียดจะสามารถนำไปก่อสร้างได้ทันทีโดยใช้ผู้รับเหมาก่อสร้าง
มาควบคุมงานก่อสร้างให้ตรงตามแบบ งานสร้างบ่อก็จะทำได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ไม่ต้องรอคิว 
pond1pond2pond4pond5pond6
งานเขียนแบบที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากจะช่วยให้เจ้าของบ้านกับผู้รับเหมาเข้าใจได้โดยง่าย
D:DFTH13-074 Koi's HouseKoi's House 314-01-10 Plan & SectionC:UsersAdministratorDesktopKOI'S POND (K.TUKATA) Plan-Air (1

No comments:

Post a Comment